วันพุธที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2555

Beijing grass (grass angels) activity against cancer of the grass in Beijing. หญ้าปักกิ่ง (หญ้าเทวดา)ฤทธิ์ต้านมะเร็งของหญ้าปักกิ่ง

Beijing grass (grass angels) activity against cancer of the grass in Beijing. หญ้าปักกิ่ง (หญ้าเทวดา)ฤทธิ์ต้านมะเร็งของหญ้าปักกิ่ง 


                                                           รูปทั้งสามรูปจากคำค้นหญ้าปักกิ่ง








หญ้าปักกิ่ง (หญ้าเทวดา)
Murdania loriformis (Hassk.)  Rolla Ras et Kammathy
Commelinaceae
หญ้าปักกิ่งมีถิ่นกำเนิดในประเทศจีนแถบสิบสองปันนา มีการนำเข้าและปลูกทั่วไปในประเทศไทย ชอบขึ้นที่ดินร่วนปนทราย แดดรำไร และน้ำไม่ขัง ยาจีนใช้หญ้าปักกิ่งในโรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจ ในประเทศไทยประมาณ 20 ปีที่แล้ว ผู้ป่วยโรคมะเร็งดื่มน้ำคั้นจากหญ้าปักกิ่งทั้งต้น  เพื่อรักษาและบรรเทาอาการจากโรคมะเร็ง บางรายใช้หญ้าปักกิ่งร่วมกับการรักษาแผนปัจจุบัน เพื่อช่วยลดผลข้างเคียง ผู้ป่วยโรคมะเร็งที่ได้รายงานว่าใช้หญ้าปักกิ่งรักษาตนเอง  ได้แก่ มะเร็งปอด มะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็งมดลูก มะเร็งโพรงจมูก มะเร็งตับ มะเร็งเม็ดเลือดขาว มะเร็งเต้านม เนื้องอกในสมอง มะเร็งม้าม มะเร็งปากมดลูก มะเร็งลำไส้ใหญ่  มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ มะเร็งต่อมน้ำเหลือง  มะเร็งกระดูก  เป็นต้น
น้ำคั้นจากหญ้าปักกิ่งไม่ทำให้เกิดความผิดปกติในด้านการเจริญเติบโต  เคมีเลือด และพยาธิสภาพของอวัยวะสำคัญในหนูขาว  ค่า LD ในหนูขาวมากกว่า 120 กรัม/น้ำหนักหนู 1 กิโลกรัม ซึ่งเทียบเท่ากับ 300 เท่าของขนาดรักษาในคน  ตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโลกจัดให้เป็นสมุนไพรที่ค่อนข้างปลอดภัย  การทดลองป้อนน้ำคั้นจากหญ้าปักกิ่งให้แก่หนูขาวติดต่อกันนาน 3 เดือน  พบว่าหญ้าปักกิ่งขนาดที่ใช้รักษาในคน  มีความปลอดภัยเพียงพอเมื่อใช้รักษาติดต่อกันนาน  3    เดือน
งานวิจัยเพื่อพิสูจน์ประสิทธิภาพในการรักษาโรคมะเร็ง เบื้องต้นได้ทำการวิจัยเพื่อแยกสารที่แสดงคุณสมบัติต้านมะเร็ง  พบว่าหญ้าปักกิ่งประกอบด้วยสารกลุ่มต่างๆ ได้แก่ คาร์โบไฮเดรต  กรดอะมิโน  กลัยโคไซด์  ฟลาโวนอยด์    และอะกลัยโคน
กลุ่มสารที่แสดงฤทธิ์ยับยั้งเซลล์มะเร็ง (direct cytotoxicity) เช่น เซลล์มะเร็งเต้านม และเซลล์มะเร็งลำไส้ใหญ่ ได้แก่ กลุ่มกลัยโคไซด์ และอะกลัยโคน ทำการแยกส่วนในกลุ่มกลัยโคไซด์ได้ 2 ชนิด คือ ไฟโตสเตียรีลกลัยโคไซด์ (Phytostearil glycoside) และกลัยโคสฟิงโกไลปิดส์ (Glycosphingolipids)  นำสารทั้งสองมาตรวจสอบฤทธิ์ยับยั้งเซลล์มะเร็ง  พบว่า Glycosphingolipids แสดงฤทธิ์ดังกล่าว
เนื่องจากฤทธิ์ยับยั้งเซลล์มะเร็งของหญ้าปักกิ่งค่อนข้างอ่อน จำเป็นต้องตรวจสอบคุณสมบัติต้านมะเร็งที่แสดงทางอ้อม โดยผ่านเซลล์ของระบบภูมิคุ้มกัน
Glycosphingolipids  จัดเป็นไลปิดที่มีความเป็นขั้วสูง เป็นองค์ประกอบสำคัญของเซลล์ผิว  และแตกต่างจากไลปิดส์อื่นตรงที่ละลายน้ำได้  มักพบที่สมอง ระบบประสาท และอวัยวะอื่นๆ เช่น เม็ดเลือดแดง ไต ม้าม รก ซีรัม และตับ ปกติ Glycosphingolipids  จะมีบทบาทในปฏิกิริยาภูมิคุ้มกัน  glycosphingolipids ที่แยกได้จากเซลล์มะเร็งแตกต่างจากเซลล์ปกติ ความแตกต่างนี้แสดงถึงปฏิกิริยาภูมิคุ้มกันที่เปลี่ยนไปของเซลล์มะเร็ง ดังนั้น glycosphingolipids จึงเป็นเรื่องที่น่าสนใจในงานวิจัยโรคมะเร็ง
มีผู้รายงานถึงคุณสมบัติต้านการก่อการกลายพันธุ์ของหญ้าปักกิ่งซึ่งอาจบ่งชี้ว่าหญ้าปักกิ่งอาจป้องกันการเกิดมะเร็ง หญ้าปักกิ่งสามารถเหนี่ยวนำให้เกิดเอนไซม์ที่ย่อยสลายสารพิษ และลดการเกิดอนุมูลอิสระ ซึ่งจะช่วยป้องกันการเกิดมะเร็งได้
การศึกษาเพื่อประเมินประสิทธิภาพในการรักษามะเร็งของหญ้าปักกิ่ง จำเป็นต้องผ่านการทดลองทางคลินิก เนื่องจากจะมีการพัฒนารูปแบบการใช้ที่ทันสมัยและแตกต่างไปจากเดิม
สารต้านมะเร็งจากหญ้าปักกิ่ง
วีณา จิรัจฉริยากูลปริ่มเฉนียน มุ่งการดี, Okabe H. และคณะ ทำการวิจัยพบว่า สารสกัดเมธานอล ethylacetate และ glycosphingolipids   มีฤทธิ์เป็นพิษต่อเซลล์ เมื่อทดสอบกับเซลล์มะเร็งทรวงอก และมะเร็งลำไส้ใหญ่ สาร glycosphingolipids  นี้มีชื่อว่า  1b-O-D-glucopyranosyl-2-(2'-hydroxy-6'-ene-cosamide)-sphingosine
ฤทธิ์ต้านมะเร็งของหญ้าปักกิ่ง
Glycosphingolipid ซึ่งสกัดแยกจากหญ้าปักกิ่งมีฤทธิ์ต้านมะเร็งลำไส้ใหญ่ และมะเร็งเต้านมของคน เมื่อทดลองในหลอดทดลอง
ฤทธิ์ต้านก่อการกลายพันธุ์ของหญ้าปักกิ่ง
สารสกัดหญ้าปักกิ่งด้วยเอธานอลมีฤทธิ์ต้านการก่อกลายพันธุ์เมื่อทดสอบกับเชื้อ Salmonella typhimurium TA 100 และ TA98  สารสกัดมีฤทธิ์  DT-diaphorase inducing activity ใน murine hepatoma สามารถต้านการก่อกลายพันธุ์ของ MNNG AFB1, IQ, Glu-P-1, Glu-P-2, Trp-P-2 แต่ไม่สามารถต้านฤทธิ์ของ  NaN3, AF-2 และ B(a)P
Posted 23rd April by leonationworld

วันอังคารที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2555

Anticancer effects of garlic.Allium sativum Linn.ฤทธิ์ต้านมะเร็งของกระเทียมกระเทียม


Anticancer effects of garlic.Allium sativum Linn.ฤทธิ์ต้านมะเร็งของกระเทียมกระเทียม

           

สรรพคุณทางยา

  1. รักษาโรคบิด
  2. ป้องกันมะเร็ง
  3. ระงับกลิ่นปาก
  4. ลดระดับไขมัน คอลเลสเตอรอล และน้ำตาลในเลือด
  5. ขับพิษ และ สารอันตรายที่ปนเปื้อนในเม็ดเลือด
  6. มีกลิ่นที่ฉุนจึงสามารถไล่ยุงได้ดี
  7. ขับลม

กระเทียม
Allium sativum Linn.
Garlic
Alliaceae
สถาบันวิจัยมะเร็ง ประเทศสหรัฐอเมริกา พบความสัมพันธ์ระหว่างการลดอัตราการเกิดมะเร็งในทางเดินอาหารกับอาหารซึ่งมีกระเทียม หอม และหอมหัวใหญ่ พบว่าในจำนวนผู้ที่ทำการศึกษา 1,695 คน มี 564 คนเป็นมะเร็งในกระเพาะอาหาร และในจำนวนผู้ป่วยมะเร็งกระเพาะอาหารเหล่านี้ส่วนใหญ่เป็นพวกที่รับประทานกระเทียมน้อยหรือไม่รับประทานเลย และพบว่าชาวจีนที่ไม่รับประทานกระเทียมมีโอกาสเป็นมะเร็งกระเพาะอาหารมากกว่าผู้ที่กินกระเทียมในปริมาณมากอยู่เสมอถึง 1,000 เท่า
นอกจากนี้ยังมีผู้พบว่า diallyl disulfide ลดการก่อให้เกิดมะเร็ง เนื่องจากสาร nitrosamine ซึ่งสารนี้มักจะได้มาจากอาหารที่มี nitrate สูง รวมทั้งผักบางชนิด สารจากกระเทียมจะไปยับยั้งการเปลี่ยนแปลงของ nitrosamine ไปเป็นสารซึ่งก่อมะเร็งอย่างรุนแรงได้ จึงเชื่อว่า diallyl disulfide น่าจะเป็นสารสำคัญที่ช่วยลดการเกิดมะเร็งในผู้ป่วยที่กินกระเทียมอยู่เสมอ
Wargovich และคณะ ได้รายงานฤทธิ์ในการรักษามะเร็งในทางเดินอาหารของ diallyl sulfide ซึ่งเป็นสารที่พบในกระเทียมโดยสามารถต้านพิษของ dimethylhydrazine และ N-methyl-N-nitroso-methylamine ที่ทำให้เกิดมะเร็ง
ผลิตภัณฑ์กระเทียม
-ป้องกันการเกิดมะเร็ง
หรือใช้เป็น adjuvant ในการบำบัดมะเร็ง เพราะสามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งจากคน และการทดลองยังชี้ให้เห็นว่าสามารถยับยั้งมะเร็งต่างๆ ในสัตว์ทดลอง ได้แก่ มะเร็งเต้านม กระเพาะปัสสาวะ ผิวหนัง ลำไส้ใหญ่ หลอดอาหาร กระเพาะอาหารและปอด ซึ่งกระบวนการออกฤทธิ์อาจเนื่องมาจากการยับยั้งการทำงานของสารก่อมะเร็ง เพิ่มอัตราการขับสารก่อมะเร็ง ป้องกันไม่ให้สารก่อมะเร็งจับกับ DNA เพิ่มประสิทธิภาพของเอนไซม์ที่ทำให้เกิดมะเร็ง หรือผ่านกระบวนการกระตุ้นภูมิต้านทาน ช่วยลดอาการข้างเคียงของยามะเร็ง
ฤทธิ์ต้านมะเร็งของกระเทียม
ได้มีการทดลองฆ่าเซลล์มะเร็งของ allicin และอโจอินซึ่งสลายมาจาก allicin พบฤทธิ์ที่น่าสนใจคือ สารทั้ง 2 ชนิด จะออกฤทธิ์ต่อเซลล์มะเร็งในหลอดทดลองโดยต้องใช้เวลา 3 ชั่วโมง จึงจะเข้าไปในเซลล์และออกฤทธิ์ทันทีที่เข้าไป อโจอินจะมีฤทธิ์แรงกว่า allicin 2 เท่าและคงตัวกว่า allicin และอโจอินจะเป็นพิษต่อเซลล์มะเร็งมากกว่าเซลล์ปกติถึง 2 เท่า จึงมีแนวโน้มที่ดีในการพัฒนามาใช้เป็นยารักษามะเร็ง และผู้วิจัยยังเน้นว่า อโจอินไม่ระคายเคืองต่อผิวหนังและตาอีกด้วย
นอกเหนือจากนี้ ยังมีการวิจัยฤทธิ์ในการต้านมะเร็งในสมุนไพรชนิดอื่นๆอีกจำนวนมาก 

Phyllanthus emblica Linn.มะขามป้อม

Phyllanthus emblica Linn.มะขามป้อม 



มะขามป้อม
Phyllanthus emblica Linn.
Malacca tree
Euphorbiaceae
มะขามป้อมเป็นไม้ที่ขึ้นง่ายไม่เลือกดินฟ้าอากาศพบได้ตามป่าเขาทั่วไปในแถบเอเชียจึงเป็นที่รู้จักกันดีทั้งในประเทศไทย จีน อินเดีย เนปาล มาเลเซีย ศรีลังกา  บังคลาเทศ  และญี่ปุ่น  มีการนำส่วนต่างๆ ของมะขามป้อมมาใช้เป็นยาพื้นบ้านรักษาโรคต่างๆ ทั้งส่วนใบ   ลำต้น ราก ผล หรือเปลือกลำต้น
นอกจากเป็นอาหารที่อุดมด้วยวิตามินซี ส่วนต่างๆ ของมะขามป้อมยังมีสารสำคัญหลายชนิดที่เป็นประโยชน์ มีมากน้อยต่างกันไปตามส่วนต่างๆ ของพืชดังกล่าวแล้ว  กลุ่มสารสำคัญเหล่านี้ได้แก่  tannin  flavanoid  benzenoid  coumarin diterpine triterpine alkaloid และ steroid  นอกจากนี้ยังมีคาร์โบไฮเดรทที่ให้รสหวาน ได้แก่  น้ำตาล  glucose และ fructose โปรตีน และไขมัน ซึ่งประกอบด้วยกรดไขมันทั้งชนิดอิ่มตัวและไม่อิ่มตัว  พบมากในส่วนเมล็ด
ได้มีการศึกษาฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาและพิษวิทยาของมะขามป้อม พบว่านอกจากเป็นแหล่งของวิตามินที่ใช้รักษาโรคเลือดออกตามไรฟันได้แล้ว  ส่วนต่างๆ ของมะขามป้อมยังมีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาดังต่อไปนี้
ฤทธิ์ยับยั้งการก่อกลายพันธุ์
มีผู้ศึกษาเรื่องนี้กันมาก และพบว่าสารสกัดจากผลมะขามป้อมด้วย acetone ในความเข้มข้น 0.1 มล./plate  มีฤทธิ์ยับยั้งการก่อกลายพันธุ์ ที่เหนี่ยวนำด้วย sodium azide ของ Salmonella typhimurium TA 100, TA 97 ได้  สารสกัดด้วยคลอร์โรฟอร์ม หรือน้ำก็ให้ผลเช่นเดียวกัน  ในหนูถีบจักรที่ได้รับสารสกัดด้วยน้ำในขนาด 10 มล/กก สามารถยับยั้งการก่อกลายพันธุ์จากผลของโลหะนิเกิลได้  ถ้าให้ในขนาด 685 มก/กก พบว่าสามารถลดจำนวนความถี่ของโครโมโซมที่ผิดปกติ / เซลล์  ลด % ของเซลล์ที่ผิดปกติและความถี่ของ micronuclei ที่เกิดในเซลล์ของไขกระดูก
จากโลหะหนักอะลูมิเนียม และตะกั่ว ก็เช่นเดียวกัน หลังจากให้สารสกัดด้วยน้ำของผลมะขามป้อมแก่หนูถีบจักรในขนาด 685 มก/กก 7 วัน  แล้วฉีดอะลูมิเนียมหรือตะกั่ว เข้าช่องท้องของสัตว์ทดลอง พบว่าสารสกัดไปทำให้แบ่งตัวเพิ่มขึ้น แต่ไปลดการสลายของโครโมโซมในเซลล์ของกระดูก และในขนาดยาเท่ากันนี้ก็สามารถต้านการจับกลุ่มของโครโมโซมที่ถูกทำให้ผิดปกติด้วย ซีเซียมคลอไรด์ได้  นอกจากนี้เมื่อสัตว์ทดลองได้รับยาในขนาด 685 มก/กก ทุกวันเป็นเวลา 1 สัปดาห์ ก็สามารถลดจำนวนเซลล์ micronuclei ซึ่งเกิดโดยอะลูมิเนียม หรือตะกั่วได้เช่นกัน
ฤทธิ์ยับยั้งการเป็นพิษต่อตับและไต
มีรายงานว่าส่วนผสมของสมุนไพรซึ่งมีมะขามป้อมทั้งต้นเป็นส่วนประกอบด้วย  ทำเป็นยาต้มให้คนไข้รับประทานนาน  1-5 สัปดาห์พบว่าคนไข้  18 ใน 20 รายหายจากโรคดีซ่าน มีปริมาณ bilirubin ใน serum เป็นที่พอใจ
Posted 23rd April by leonationworld

Ganoderma Lucidum herb.สมุนไพรเห็ดหลินจือ


Ganoderma Lucidum, anti cancer, immune-stimulating activity.เห็ดหลินจือฤทธิ์ต้านมะเร็งฤทธิ์กระตุ้นภูมิคุ้มกัน 


เห็ดหลินจือ (เห็ดหมื่นปี)
Ganoderma Lucida (Fr.) Karst.
Lacquered Mushroom
Polyporaceae
บางคนเรียก " เห็ดจวักงู " หรือที่จีนเรียกว่าเห็ดหลินจือ (Lingchin หรือ Ling Zhi)  ซึ่งหมายถึง วิญญาณ ภาษาอังกฤษ เรียก Lacquered Mushroom ซึ่งอาจเพราะเห็ดชนิดนี้ผิวจะมีลักษณะแห้ง แข็งเหมือนไม้และเป็นมันเงาเหมือนเคลือบด้วยแลคเคอร์ ญี่ปุ่นเรียกเห็ดนี้ว่า " แมนเนนทาเกะ " (Mannentake) ซึ่งแปลว่าหมื่นปี ด้านบนของหมวกเห็ดจะมีสีน้ำตาลม่วงหรือดำมีก้านสั้นๆ แต่ถ้าขึ้นยื่นออกมาจากโคนต้นไม้อาจจะไม่มีก้าน ดอกอ่อนจะมีขอบสีขาว-เหลือง กลางดอกสีน้ำตาล ใต้หมวกเห็ดไม่มีครีบแต่มีรูเล็กๆ จำนวนมากมาย  ในประเทศไทยพบเห็ดหมื่นปีขึ้นอยู่บนต้นไม้พวก คูน ก้ามปู หางนกยูงฝรั่ง ยางนา ยางพารา ดอกเห็ดมักขึ้นกับตอไม้ที่ตายแล้ว  บางทีก็เกาะอยู่กับรากต้นไม้
เห็ดหลินจือ จีนใช้เป็นยามานาน โดยระบุสรรพคุณว่าเป็นยาอายุวัฒนะทำให้ผู้บริโภคมี อายุยืน ในฟาร์มาโคเปียจีน (Chinese Pharmacopoeia) ใช้เป็นยาบำรุงร่างกาย, เกี่ยวกับระบบประสาท, หลอดลมอักเสบเรื้อรัง, ร่างกายอ่อนแอ, หอบ, นอนไม่หลับ, แก้ไอ, โรคหัวใจ, ระบบย่อยอาหารไม่ดี ตับอักเสบเฉียบพลัน
มีผู้ศึกษาสารเคมีในเห็ดหลินจือมากมาย แต่ที่สำคัญและพบฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาพอจะแบ่งเป็นกลุ่มต่างได้ดังนี้ คือ
       1. กลุ่ม polysaccharide ซึ่งมีผู้พบ polysaccharide A, B, C, D, E, G, H  Polysaccharide BN-3-A, B, C และ polysaccharide อื่นๆ ซึ่งสารในกลุ่มนี้จะมีฤทธิ์สำคัญในการต้านมะเร็ง และกระตุ้นภูมิต้านทาน ลดการอักเสบ และป้องกันอันตรายจากการฉายรังสี
2. กลุ่ม triterpenoids ซึ่งเป็นสารที่ทำให้เห็ดหลินจือมีรสขม มีผู้ศึกษาและพบสารกลุ่มนี้ประมาณ 100 ชนิด แต่ที่สำคัญและมีผู้พบฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาได้แก่  ganoderic acid R&S, ganoderic K, ganoderic acid C, F, H, ganoderic acid A, B , ganoderal A, ganoderol A, B ,oleic acid
3. กลุ่ม peptidoglycan เป็นสารกลุ่มที่มีฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือด ที่สำคัญ คือ ganoderan A,B,C
4. กลุ่ม protoalkaloid และกรดอะมิโน ได้แก่ adenosine, adenine, uracil, uridine ซึ่งมีฤทธิ์รักษาอาการกล้ามเนื้อลีบ ยับยั้งการจับตัวของเกร็ดเลือด
5. กลุ่ม steroids ในกลุ่มนี้จะเป็นอนุพันธุ์กลุ่ม  homolanosteroid carboxyacetyl quercinic acid ซึ่งมีฤทธิ์ยับยั้งมะเร็ง และ ganodersterone ซึ่งมีฤทธิ์กระตุ้นการทำงานของตับ
6. โปรตีน ได้มีผู้สกัดพบว่าโปรตีน Ling-Zhi 8(LZ-8) มีฤทธิ์กระตุ้นภูมิต้านทาน
7. สารอื่นๆ ได้แก่ cyclooctosulfur
ฤทธิ์ต้านมะเร็งของเห็ดหลินจือ
ญี่ปุ่นศึกษาพบว่า  สารสกัดด้วยน้ำของเห็ดหลินจือมีผลทำให้หนูที่ทำให้เป็นมะเร็งมีอายุยาวขึ้น  แต่การทดลองในหลอดทดลองสารสกัดเห็ดหลินจือด้วยน้ำไม่มีผลต่อเซลล์  และสารที่ออกฤทธิ์เป็นพวก polysaccharide  และยังพบว่า สามารถลดพิษของยาพวกที่เป็นพิษต่อเซลล์ (cytotoxic)  ด้วย
สรุปว่า  เห็ดหลินจือมีผลช่วยชะลออาการของมะเร็งและยืดอายุผู้ป่วยได้
ฤทธิ์กระตุ้นภูมิคุ้มกัน
มีผู้ศึกษาวิจัยกันมาก  ใช้ทั้งสารสกัดด้วยน้ำ สารสกัดน้ำผสมด่าง และสารสกัดที่ออกฤทธิ์พวก glycopolysaccharide  พบว่า  ช่วยทำให้ร่างกายมีภูมิคุ้มกันดีขึ้น  โดยไปเพิ่มประสิทธิภาพเกี่ยวกับการป้องกันและการสร้าง antibody  และยังพบว่าสารกลุ่ม polysaccharide จะไปกระตุ้นเซลล์ lymphocyte T  ให้ทำงานได้ดีขึ้น  เป็นผลให้ชะลอการลุกลามของมะเร็ง  และเพิ่มประสิทธิภาพของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย
 ฤทธิ์ต่อโรคภูมิแพ้

สารสกัดด้วยน้ำ ด้วยอัลกอฮอล์ (95%)  และด้วยคลอโรฟอร์ม  สามารถยับยั้งการแพ้ทั้งผื่นคัน และหอบหืด  โดยเห็ดหลินจือสามารถยับยั้งการหลั่ง histamine  และสามารถลดอาการแพ้ชนิดรุนแรง (anaphylaxis)  ได้ด้วย  นอกจากนี้ยังลดปฏิกริยาการตอบโต้ของผู้ป่วยที่ได้รับการปลูกถ่ายอวัยวะ
อย่างไรก็ตาม  มีรายงานว่ามีผู้แพ้สปอร์เห็ดหลินจือ  จึงต้องระมัดระวังเรื่องการแพ้ของคนบางคนด้วย
การศึกษาด้านพิษวิทยา
การทดสอบทางพิษวิทยาของส่วนสกัดด้วยน้ำ และส่วนสกัดที่เป็น polysaccharide ในหนูถีบจักร พบว่าค่อนข้างปลอดภัย ขนาดที่ให้ครั้งเดียวไม่ทำให้หนูตาย สำหรับพิษกึ่งเฉียบพลันนั้น หนูถีบจักรที่ป้อนด้วยส่วนสกัดด้วยน้ำขนาดวันละ 5 กรัม/กิโลกรัม เป็นเวลา 30 วัน ไม่พบการเปลี่ยนแปลงของน้ำหนักตัว น้ำหนักอวัยวะต่างๆ และลักษณะต่างๆ ที่ตรวจได้ในเลือดไปจากหนูปกติ
การทดลองทางคลีนิคในเภสัชตำรับของจีน
ให้กับคนไข้ที่เป็นโรคประสาทตื่นตัว นอนไม่หลับ ปวดข้อ อารมณ์ไม่แจ่มใส  โดยทดลองกับคนไข้ 51 ราย ได้ผลดีมาก 26 ราย ดี 18 ราย ไม่ได้ผล 7 ราย สรุปว่าดีมาก 51% หรือได้ผลดี 86.3%
ขนาดใช้  ทำเป็นยาเม็ดให้ครั้งละ 3 เม็ด หรือทำเป็นผงให้ครั้งละ 2-4 กรัม หรือใช้เห็ดหลินจือแห้ง 10 กรัม ฝานให้เป็นชิ้นบางๆ ต้มกับน้ำ 2 ลิตร ต้มเคี่ยวจนเหลือ 1 ลิตร แล้วเอาชิ้นส่วนเห็ดออกแล้วต้มให้งวดเหลือครึ่งลิตร ดื่มตลอดวัน
            Posted 23rd April by leonationworld