วันพุธที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2555

Beijing grass (grass angels) activity against cancer of the grass in Beijing. หญ้าปักกิ่ง (หญ้าเทวดา)ฤทธิ์ต้านมะเร็งของหญ้าปักกิ่ง

Beijing grass (grass angels) activity against cancer of the grass in Beijing. หญ้าปักกิ่ง (หญ้าเทวดา)ฤทธิ์ต้านมะเร็งของหญ้าปักกิ่ง 


                                                           รูปทั้งสามรูปจากคำค้นหญ้าปักกิ่ง








หญ้าปักกิ่ง (หญ้าเทวดา)
Murdania loriformis (Hassk.)  Rolla Ras et Kammathy
Commelinaceae
หญ้าปักกิ่งมีถิ่นกำเนิดในประเทศจีนแถบสิบสองปันนา มีการนำเข้าและปลูกทั่วไปในประเทศไทย ชอบขึ้นที่ดินร่วนปนทราย แดดรำไร และน้ำไม่ขัง ยาจีนใช้หญ้าปักกิ่งในโรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจ ในประเทศไทยประมาณ 20 ปีที่แล้ว ผู้ป่วยโรคมะเร็งดื่มน้ำคั้นจากหญ้าปักกิ่งทั้งต้น  เพื่อรักษาและบรรเทาอาการจากโรคมะเร็ง บางรายใช้หญ้าปักกิ่งร่วมกับการรักษาแผนปัจจุบัน เพื่อช่วยลดผลข้างเคียง ผู้ป่วยโรคมะเร็งที่ได้รายงานว่าใช้หญ้าปักกิ่งรักษาตนเอง  ได้แก่ มะเร็งปอด มะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็งมดลูก มะเร็งโพรงจมูก มะเร็งตับ มะเร็งเม็ดเลือดขาว มะเร็งเต้านม เนื้องอกในสมอง มะเร็งม้าม มะเร็งปากมดลูก มะเร็งลำไส้ใหญ่  มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ มะเร็งต่อมน้ำเหลือง  มะเร็งกระดูก  เป็นต้น
น้ำคั้นจากหญ้าปักกิ่งไม่ทำให้เกิดความผิดปกติในด้านการเจริญเติบโต  เคมีเลือด และพยาธิสภาพของอวัยวะสำคัญในหนูขาว  ค่า LD ในหนูขาวมากกว่า 120 กรัม/น้ำหนักหนู 1 กิโลกรัม ซึ่งเทียบเท่ากับ 300 เท่าของขนาดรักษาในคน  ตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโลกจัดให้เป็นสมุนไพรที่ค่อนข้างปลอดภัย  การทดลองป้อนน้ำคั้นจากหญ้าปักกิ่งให้แก่หนูขาวติดต่อกันนาน 3 เดือน  พบว่าหญ้าปักกิ่งขนาดที่ใช้รักษาในคน  มีความปลอดภัยเพียงพอเมื่อใช้รักษาติดต่อกันนาน  3    เดือน
งานวิจัยเพื่อพิสูจน์ประสิทธิภาพในการรักษาโรคมะเร็ง เบื้องต้นได้ทำการวิจัยเพื่อแยกสารที่แสดงคุณสมบัติต้านมะเร็ง  พบว่าหญ้าปักกิ่งประกอบด้วยสารกลุ่มต่างๆ ได้แก่ คาร์โบไฮเดรต  กรดอะมิโน  กลัยโคไซด์  ฟลาโวนอยด์    และอะกลัยโคน
กลุ่มสารที่แสดงฤทธิ์ยับยั้งเซลล์มะเร็ง (direct cytotoxicity) เช่น เซลล์มะเร็งเต้านม และเซลล์มะเร็งลำไส้ใหญ่ ได้แก่ กลุ่มกลัยโคไซด์ และอะกลัยโคน ทำการแยกส่วนในกลุ่มกลัยโคไซด์ได้ 2 ชนิด คือ ไฟโตสเตียรีลกลัยโคไซด์ (Phytostearil glycoside) และกลัยโคสฟิงโกไลปิดส์ (Glycosphingolipids)  นำสารทั้งสองมาตรวจสอบฤทธิ์ยับยั้งเซลล์มะเร็ง  พบว่า Glycosphingolipids แสดงฤทธิ์ดังกล่าว
เนื่องจากฤทธิ์ยับยั้งเซลล์มะเร็งของหญ้าปักกิ่งค่อนข้างอ่อน จำเป็นต้องตรวจสอบคุณสมบัติต้านมะเร็งที่แสดงทางอ้อม โดยผ่านเซลล์ของระบบภูมิคุ้มกัน
Glycosphingolipids  จัดเป็นไลปิดที่มีความเป็นขั้วสูง เป็นองค์ประกอบสำคัญของเซลล์ผิว  และแตกต่างจากไลปิดส์อื่นตรงที่ละลายน้ำได้  มักพบที่สมอง ระบบประสาท และอวัยวะอื่นๆ เช่น เม็ดเลือดแดง ไต ม้าม รก ซีรัม และตับ ปกติ Glycosphingolipids  จะมีบทบาทในปฏิกิริยาภูมิคุ้มกัน  glycosphingolipids ที่แยกได้จากเซลล์มะเร็งแตกต่างจากเซลล์ปกติ ความแตกต่างนี้แสดงถึงปฏิกิริยาภูมิคุ้มกันที่เปลี่ยนไปของเซลล์มะเร็ง ดังนั้น glycosphingolipids จึงเป็นเรื่องที่น่าสนใจในงานวิจัยโรคมะเร็ง
มีผู้รายงานถึงคุณสมบัติต้านการก่อการกลายพันธุ์ของหญ้าปักกิ่งซึ่งอาจบ่งชี้ว่าหญ้าปักกิ่งอาจป้องกันการเกิดมะเร็ง หญ้าปักกิ่งสามารถเหนี่ยวนำให้เกิดเอนไซม์ที่ย่อยสลายสารพิษ และลดการเกิดอนุมูลอิสระ ซึ่งจะช่วยป้องกันการเกิดมะเร็งได้
การศึกษาเพื่อประเมินประสิทธิภาพในการรักษามะเร็งของหญ้าปักกิ่ง จำเป็นต้องผ่านการทดลองทางคลินิก เนื่องจากจะมีการพัฒนารูปแบบการใช้ที่ทันสมัยและแตกต่างไปจากเดิม
สารต้านมะเร็งจากหญ้าปักกิ่ง
วีณา จิรัจฉริยากูลปริ่มเฉนียน มุ่งการดี, Okabe H. และคณะ ทำการวิจัยพบว่า สารสกัดเมธานอล ethylacetate และ glycosphingolipids   มีฤทธิ์เป็นพิษต่อเซลล์ เมื่อทดสอบกับเซลล์มะเร็งทรวงอก และมะเร็งลำไส้ใหญ่ สาร glycosphingolipids  นี้มีชื่อว่า  1b-O-D-glucopyranosyl-2-(2'-hydroxy-6'-ene-cosamide)-sphingosine
ฤทธิ์ต้านมะเร็งของหญ้าปักกิ่ง
Glycosphingolipid ซึ่งสกัดแยกจากหญ้าปักกิ่งมีฤทธิ์ต้านมะเร็งลำไส้ใหญ่ และมะเร็งเต้านมของคน เมื่อทดลองในหลอดทดลอง
ฤทธิ์ต้านก่อการกลายพันธุ์ของหญ้าปักกิ่ง
สารสกัดหญ้าปักกิ่งด้วยเอธานอลมีฤทธิ์ต้านการก่อกลายพันธุ์เมื่อทดสอบกับเชื้อ Salmonella typhimurium TA 100 และ TA98  สารสกัดมีฤทธิ์  DT-diaphorase inducing activity ใน murine hepatoma สามารถต้านการก่อกลายพันธุ์ของ MNNG AFB1, IQ, Glu-P-1, Glu-P-2, Trp-P-2 แต่ไม่สามารถต้านฤทธิ์ของ  NaN3, AF-2 และ B(a)P
Posted 23rd April by leonationworld

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น