วันอังคารที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2555

Anticancer effects of garlic.Allium sativum Linn.ฤทธิ์ต้านมะเร็งของกระเทียมกระเทียม


Anticancer effects of garlic.Allium sativum Linn.ฤทธิ์ต้านมะเร็งของกระเทียมกระเทียม

           

สรรพคุณทางยา

  1. รักษาโรคบิด
  2. ป้องกันมะเร็ง
  3. ระงับกลิ่นปาก
  4. ลดระดับไขมัน คอลเลสเตอรอล และน้ำตาลในเลือด
  5. ขับพิษ และ สารอันตรายที่ปนเปื้อนในเม็ดเลือด
  6. มีกลิ่นที่ฉุนจึงสามารถไล่ยุงได้ดี
  7. ขับลม

กระเทียม
Allium sativum Linn.
Garlic
Alliaceae
สถาบันวิจัยมะเร็ง ประเทศสหรัฐอเมริกา พบความสัมพันธ์ระหว่างการลดอัตราการเกิดมะเร็งในทางเดินอาหารกับอาหารซึ่งมีกระเทียม หอม และหอมหัวใหญ่ พบว่าในจำนวนผู้ที่ทำการศึกษา 1,695 คน มี 564 คนเป็นมะเร็งในกระเพาะอาหาร และในจำนวนผู้ป่วยมะเร็งกระเพาะอาหารเหล่านี้ส่วนใหญ่เป็นพวกที่รับประทานกระเทียมน้อยหรือไม่รับประทานเลย และพบว่าชาวจีนที่ไม่รับประทานกระเทียมมีโอกาสเป็นมะเร็งกระเพาะอาหารมากกว่าผู้ที่กินกระเทียมในปริมาณมากอยู่เสมอถึง 1,000 เท่า
นอกจากนี้ยังมีผู้พบว่า diallyl disulfide ลดการก่อให้เกิดมะเร็ง เนื่องจากสาร nitrosamine ซึ่งสารนี้มักจะได้มาจากอาหารที่มี nitrate สูง รวมทั้งผักบางชนิด สารจากกระเทียมจะไปยับยั้งการเปลี่ยนแปลงของ nitrosamine ไปเป็นสารซึ่งก่อมะเร็งอย่างรุนแรงได้ จึงเชื่อว่า diallyl disulfide น่าจะเป็นสารสำคัญที่ช่วยลดการเกิดมะเร็งในผู้ป่วยที่กินกระเทียมอยู่เสมอ
Wargovich และคณะ ได้รายงานฤทธิ์ในการรักษามะเร็งในทางเดินอาหารของ diallyl sulfide ซึ่งเป็นสารที่พบในกระเทียมโดยสามารถต้านพิษของ dimethylhydrazine และ N-methyl-N-nitroso-methylamine ที่ทำให้เกิดมะเร็ง
ผลิตภัณฑ์กระเทียม
-ป้องกันการเกิดมะเร็ง
หรือใช้เป็น adjuvant ในการบำบัดมะเร็ง เพราะสามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งจากคน และการทดลองยังชี้ให้เห็นว่าสามารถยับยั้งมะเร็งต่างๆ ในสัตว์ทดลอง ได้แก่ มะเร็งเต้านม กระเพาะปัสสาวะ ผิวหนัง ลำไส้ใหญ่ หลอดอาหาร กระเพาะอาหารและปอด ซึ่งกระบวนการออกฤทธิ์อาจเนื่องมาจากการยับยั้งการทำงานของสารก่อมะเร็ง เพิ่มอัตราการขับสารก่อมะเร็ง ป้องกันไม่ให้สารก่อมะเร็งจับกับ DNA เพิ่มประสิทธิภาพของเอนไซม์ที่ทำให้เกิดมะเร็ง หรือผ่านกระบวนการกระตุ้นภูมิต้านทาน ช่วยลดอาการข้างเคียงของยามะเร็ง
ฤทธิ์ต้านมะเร็งของกระเทียม
ได้มีการทดลองฆ่าเซลล์มะเร็งของ allicin และอโจอินซึ่งสลายมาจาก allicin พบฤทธิ์ที่น่าสนใจคือ สารทั้ง 2 ชนิด จะออกฤทธิ์ต่อเซลล์มะเร็งในหลอดทดลองโดยต้องใช้เวลา 3 ชั่วโมง จึงจะเข้าไปในเซลล์และออกฤทธิ์ทันทีที่เข้าไป อโจอินจะมีฤทธิ์แรงกว่า allicin 2 เท่าและคงตัวกว่า allicin และอโจอินจะเป็นพิษต่อเซลล์มะเร็งมากกว่าเซลล์ปกติถึง 2 เท่า จึงมีแนวโน้มที่ดีในการพัฒนามาใช้เป็นยารักษามะเร็ง และผู้วิจัยยังเน้นว่า อโจอินไม่ระคายเคืองต่อผิวหนังและตาอีกด้วย
นอกเหนือจากนี้ ยังมีการวิจัยฤทธิ์ในการต้านมะเร็งในสมุนไพรชนิดอื่นๆอีกจำนวนมาก 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น